Saturday 28 April 2012

หลินจือ

โภชนารักษาโรค
หลินจือ

     เห็ดหลินจือ เป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในจำพวกเดียวกับ รา ไม่มีคลอโรฟิลล์ จึงไม่สามารถสังเคราะห์อาหารจากแสงแดดได้เหมือนพืชทั่วไป ต้องดำรงชีวิตโดยอาศัยสิ่งมีชีวิตอื่น ซากพืช ตามตำนานเก่าแก่เชื่อว่า เห็ดหลินจือ ถือถิ่นกำเนิดจากจีนมีชื่อเดิมว่า หลินจือ (Lingchih, Ling-Zhi) หมายถึง วิญญาณ ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า Reishi หมายถึงหมื่นปี คนไทยเรียกทั้ง หลินจือ และ หมื่นปี เห็ดหลินจือเป็นเห็ดในสกุล กาโนเดอร์ม่า (Ganoderma) ชนิดที่มีสรรพคุณทางยาจัดเป็นเห็ดสมุนไพร มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า การโนเดอร์ม่าลูซิดัม (Ganoderma Lucidum)

ลักษณะของเห็ดหลินจือ
    ลักษณะทั่วไปของเห็ดหลินจือเป็นแผ่นบานออกมีรูปร่างต่างๆ บางครั้งมีก้าน บางครั้งก็ไม่มีก้านขึ้นอยู่กับสภาพการเกิด เมื่อยังอ่อนจะมีสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ค่อยๆ คลี่ออกเหมือนแม่เบี้ย และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมันเข้มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโตเต็มที่ปลายดอกจะเชิดขึ้น แต่เมื่อแก่จะงุ้มลง เห็ดหลินจือจะชอบภูมิอากาศอบอุ่นและเขตร้อน
     เห็ดหลินจือชนิดกาโนเดอร์ม่าลูซิดัมมีลักษณะเห็ดขึ้นเงา ผิวมีแสงประกายเห็ดที่แก่เต็มที่จะมีสีแดงหรือสีน้ำตาลแดง

สารออกฤทธิ์ที่มีสรรพคุณทางยาของเห็ดหลินจือ
       นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาพบว่าเห็ดหลินจือมีองค์ประกอบทางเคมีมากกว่า 150 ชนิด และสามารถจำแนกออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้
       1.สารไตรเทอร์พีนอยด์ชนิดขม (Bitter Triterpenoid) เป็นสารที่มีรสขมส่วนใหญ่อยู่ที่ดอกและก้าน มีกรดกาโนเดริค ออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งสารฮีสตามิน (Histamine-Release inhibition activity) ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ ช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด ป้องกันการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด และใช้บำบัดรักษาหลังจากเกิดการอุดตันแล้ว ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในตับ และต้านสารพิษที่มีต่อตับ
       2.พอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) สารพอลิแซ็กคาไรด์ในเห็ดหลินจือที่มีสรรพคุณทางยา ได้แก่
              - กาโนเดอแรนส์ (Ganoderans A,B,C) ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
              - สารเบต้าดีกลูแคน (Beta-D-Glucan) และพอลิแซ็กคาไรด์อีกหลายตัว มีฤทธิ์ร่วมกันในการเพิ่มการสังเคราะห์โปรตีนในเลือด ไขกระดูก และในตับช่วยลดการอักเสบ กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด บี-เซลล์ และ ที-เซลล์ ทำให้เกิดการเพิ่มสารอิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin)
              - สารอินเตอร์ลิวคิน (Interleukin) ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคมีแทรกซ้อนจากการใช้สารเคมีและรังสีบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง
              - สารเฮมีเซลลูโลส (Hemicellulose) เป็นอาหารมีกากช่วยลดการเกิดโรคมะเร็ง
              - พอลิแซ็กคาไรด์บางตัว ช่วยเพิ่มความแรงในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
       3.สเตอรอยด์ (Steroids) สารสเตอรอยด์ที่พบในเห็ดหลินจือ ได้แก่
              - สารเออร์โกสเตอรอล (Ergosterol) หรือโปรวิตามินดี2 (Provitamin D2) ร่างกายเก็บสะสมไว้ใต้ผิวหนัง เมื่อได้รับแสงอุลตร้าไวโอเลตจากแสงแดดจะสังเคราะห์เป็นวิตามินดี ซึ่งช่วยในการดูดแคลเซียม, ฟอสฟอรัสในสำไส้ เสริมความแข็งแรงของกระดูกและฟัน
              - กาโนสเตอโรน (Ganosterone) หรือ กาโนโดสเตอโน (Ganodosterone) มีฤทธิ์ใน การลดพิษที่มีต่อตับเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็งหรือตับอักเสบ
       4.กลุ่มสารนิวคลีโอไทด์ (Nucleotides) สารกลุ่มนิวคลีโอไทด์ที่พบในเห็ดหลินจือ ได้แก่
              - สารอะดีโนไซน์ (Adenosine) ยับยั้งการรวมกลุ่มของเกล็ดเลือด ป้องกันการอุดตันในเส้นเลือด ป้องกันการเกิดโรคอัมพาต อัมพฤกษได้
              - สารอาร์เอนเอ (RNA) มีคุณสมบัติคล้ายอินเตอร์ดเฟอรอน (Interferon-likesubstance) ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส (Antivirus)
              - สารอัลคาลอยด์ (Alkaloids) มีฤทธิ์กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในหัวใจลดแรงต้านทานในผนังเส้นเลือดของหัวใจลดการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ และเพิ่มความทนต่อภาวะการขาดออกซิเจนเป็นเวลานานได้
       5.สารประกอบเยอร์มาเนียม (Germanium, Ge contents) เยอร์มาเนียมพบมากในเห็ดหลินจือ ช่วยกำจัดสารพิษและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ และสามารถลดความเจ็บปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็งได้
       6.สารออกฤทธิ์อื่นๆ
              - กรดไขมันชนิดโอเลอิค (Oleic acid) และสารไซโคลอ๊อกต้าซัลเฟอร์ (Cycloocta sulfur) มีฤทธิ์ต้านทานการหลั่งฮีสตามีน
              - สารไกลโคโปรตีน (Glycoprotein) บางชนิดมีฤทธิ์ต่อต้านความพิการในเด็กทารก
              - ไลโซไซม์ (Lysozyme) และโปรติเอส (Protease) มีคุณสมบัติเป็นยาปฏิชีวนะย่อยสลายเชื้อแบคทีเรีย

การบำบัดรักษาโรคโดยใช้เห็ดหลินจือ
       เห็ดหลินจือสามารถช่วยบำรุงรักษาร่างกาย และบำบัดป้องกันโรคได้หลายชนิดในระบบร่างกาย ได้แก่
              - ระบบทางเดินหายใจ สารพอลิแซ็กคาไรด์ในเห็ดหลินจือจะช่วยกระตุ้นการทำงานของอวัยวะ และเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโรค และช่วยป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจเนื่องจากร่างกายขาดภูมิต้านทาน  เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ไข้หวัด หืด หอบ ภูมิแก้ อาการไอ
              - ระบบทางเดินอาหาร ในประเทศญี่ปุ่นมีการใช้สารสกัดเบต้าดีกลูแคนในเห็ดหลินจือรักษาโรคกระเพาะอาหาร เห็ดหลินจือยังมีเฮมีเซลลูโลสซึ่งเป็นอาหารกากใย ช่วยป้องกันโรคในระบบทางเดินอาหารได้  เช่น โรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ ทางเดินอาหารอักเสบเรื้อรัง ริดสีดวงทวาร ท้องผูก
              - โรคมะเร็งในอวัยะต่างๆ ของร่างกาย มีการค้นพบว่าสารเบต้าดีกลูแคนและคาร์โบไฮเดรทจำพวกพอลิแซ็กคาไรด์ในเห็ดหลินจือมีฤทธิ์ต่อต้านและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง  เช่น มะเร็งในสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งกระดูก มะเร็งเม็ดเลือด มะเร็งผิวหนัง มะเร็งลำไส้ มะเร็งในตับ มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งในช่องท้อง
              - ระบบไหลเวียนของโลหิตและหัวใจ มีการวิจัยพบว่าเห็ดหลินจือมีผลช่วยเพิ่มกำลังในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตลดความต้องการในการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ และยังใช้รักษาโรคเกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิตอื่นๆ อีก  เช่น โรคที่เกิดจากการมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง เส้นเลือดอุดตัน หลอดเลือดแข็งตัว ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเส้นเลือดสูง โรคหัวใจ และรอบเดือนไม่ปกติของสตรี
              - โรคอื่นๆ  เช่น โรคตับอักเสบ โรคข้ออักเสบ โรคอ้วน อัมพาต อัมพฤกษ์ โรคไตอักเสบ โรคปวดหัวข้างเดียว(ไมเกรน) นอนไม่หลับ และโรคเครียด

1 comment:

  1. With the assist of Shameera wiest’s blog, humans will come to recognize new techniques for their portray, drawing in addition to photographical hobby. This group is helping humans to recognize special strategies for drawing and painting and i'm glad to wend deep of this weblog. เห็ด หลิน จื อ ยี่ห้อ ไหน ดี

    ReplyDelete