Wednesday 9 May 2012

วิตามินอี


โภชนาการรักษาโรค
วิตามินอี

วิตามินอี (Vitamin E)
       วิตามินอี รู้จักในนานวิตามินที่ป้องกันการเป็นหมัน (Antisterility vitamin) มีคุณสมบัติเป็นน้ำมันสีเหลืองอ่อน ไม่ละลายน้ำแต่ละลายได้ในไขมันและตัวทำละลายไขมัน สามารถทนต่อกรดและความร้อน ในขณะที่ไม่มีออกซิเจน แต่ถูกทำลายได้ง่ายด้วยด่าง นอกจานั้นแล้ววิตามินอี ซึ่งเป็นสารที่สามารถรวมตัวกับออกซิเจนได้อย่างรวดเร็ว จึงสามารถใช้เป็นสารป้องกันการเติมออกซิเจน (Antioxidant) หรือใช้ป้องกันไม่ให้ไขมันเหม็นหืนและป้องกันไม่ให้วิตามินเอ และ ซี สลายตัว

การดูดซึมของวิตามินอี
       การดูดซึมวิตามินอี เกิดขึ้นที่ลำไส้เล็ก อัตราการดูดซึมไม่สูงมากนัก ประมาณ 20-50% ถ้าร่างกายได้รับวิตามินอี ปริมาณสูงจะทำให้อัตราการดูดซึมลดลง ถ้ามีไขมันรวมอยู่อัตราการดูดซึมจะดีขึ้น โดยเฉพาะไขมันชนิดโซ่คาร์บอนปานกลาง (MCT) ตรงกันข้ามกรดไขมันชนิด PUFA จะยับยั้งหรือลดอัตราการดูดซึมของวิตามินอี
          การขับถ่ายวิตามินอีจะถูกขับออกทางปัสสาวะในปริมาณที่น้อยมาก น้อยกว่า 1% ของที่ได้รับจากอาหารในแต่ละวันแต่จะขับถ่ายออกทางอุจจาระเป็นส่วนใหญ่

ประโยชน์ของวิตามินอี
       1.เป็นสารป้องกันออกซิเดชั่นของไขมัน โดยเฉพาะไขมันชนิด PUFA ทำให้เกิดสารเปอร์ออกไซด์ ซึ่งเป็นพิษต่อเยื้อหุ้มเซลล์ทำให้เซลล์ถูกทำลายง่าย
           2.ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ โดยป้องกันการเป็นหมัน
           3.ใช้รักษารอยแผลที่เกิดจากสิว
           4.เป็นสารที่ช่วยชะลอความแก่ชราและป้องกันเซลล์ หรือเนื้อเยื่อในร่างกายไม่ให้ถูกอนุมูลอิสระ (Free Radical) ทำลาย
           5.เป็นส่วนประกอบ (Cofactor) ของเอนไซน์ในระบบขนส่งอิเล็กตรอนในกระบวนการหายใจของเซลล์

ความต้องการวิตามินอี
       คณะกรรมการทางด้านอาหารและโภชนาการของสหรัฐอเมริกาได้แนะนำไว้ว่า

          ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับขนาดและภาวะความต้องการของร่างกายด้วย ความต้องการวิตามินอี ควรสูงกว่าปริมาณที่กำหนด ถ้าร่างกายได้รับกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวมาก (PUFA) ทั้งนี้เพราะวิตามินอีส่วนหนึ่งจะถูกนำไปใช้ในการป้องกันไม่ให้กรดไขมันอิ่มตัวถูกออกซิไดส์ไปเป็นเปอร์ออกไซด์

ผลของการขาด วิตามินอี
       จากการศึกษาไม่พบปัญหาการขาดในคนปกติแต่อาจพบได้ในกรณีดังต่อไปนี้
          1.เด็กที่คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกคลอดต่ำมาก จะมีระดับวิตามินอีในเลือดต่ำ การดูดซึมไขมันลดลง ทำให้ไม่สามารถดูดซึมและใช้ประโยชน์วิตามินอีได้ ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาก เนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตกง่าย
          2.เด็กคลอดก่อนกำหนด เลี้ยงด้วยนมวัวที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง จะเกิดอาการบวมซีด เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติ สมาคมกุมารแพทย์ของสหรัฐฯเสนอแนะว่า เด็กที่คลอดก่อนกำหนดควรเลี้ยงด้วยนมเสริมวิตามินอี 0.7 หน่ายสากลต่อ 100 กิโลแคลอรี่

แหล่งอาหารที่ให้วิตามินอี
       พบในน้ำมันพืชต่างๆ โดยเฉพาะน้ำมันเมล็ดพืชที่มีกรดไขมันชนิด PUFA มาก มักมีสัดส่วนของวิตามินอีและกรดไลโนอิกพอี ที่จะป้องกันการหืนของน้ำมัน น้ำมันที่มีวิตามินมากได้แก่ น้ำมันเมล็ดข้าวสาลีที่งอกใหม่ (Wheat Germ Oil) และน้ำมันพืชที่มีกรดไขมัน PUFA มากๆ ก็จะมีวิตามินอีมากด้วย นอกจากนี้ยังพบในผักใบเขียว ธัญพืช อาหารที่มาจากสัตว์จะมิวิตามินอี ต่ำกว่าพืชแต่ก็เป็นแหล่งอาหารที่ให้วิตามินอีได้ดี  เช่น ตับ หัวใจ ไต และนม

No comments:

Post a Comment