Thursday 3 May 2012

เลซิติน

โภชนาการรักษาโรค
เลซิติน (Lecithin)
สารมหัศจรรย์
 
เลซิตินคืออะไร
       เลซิติน ชื่อนี้บางคนก็เคยได้ยินมาบ้าง บางคนก็ไม่เคยได้ยินมาเลยว่ามันคืออะไร เราเคยรู้มาว่าน้ำกับน้ำมันไม่มีทางที่จะอยู่ด้วยกันได้ น้ำก็อยู่ส่วนน้ำและน้ำมันหรือไขมันก็จะอยู่กันเอง แต่เลซิตินนี้แหละสามารถทำให้น้ำกับน้ำมันอยู่เป็นเนื้อเดียวกันได้
       เลซิตินเป็นสารที่มีส่วนประกอบซับซ้อนมาก จัดอยู่ในพวกไขมันชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Phospholipids (ฟอสฟอไลปิดส์) ประกอบด้วยกลีเซอรอล กรดไขมันชนิดที่ไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนที่จำเป็นต่อร่างกาย (Unsaturated fatty acid) ฟอสฟอรัส และวิตามินบี อีก 2 ชนิด คือ โคลีน (Choline) และอิโนสิทอล (Inositol) เลซิตินจัดเป็นสารอาหารไม่ใช่ยาหรือสารเคมี เลซิตินเป็นสารที่พบได้ทั้งในพืชและสัตว์ พบมากในไข่แดง ตับ สมอง ถั่วเหลือง ข้าว เมล็ดทานตะวัน ข้าวโพด ถั่วลิสง ข้าวสาลี ปลาทะเล เป็นต้น
       นอกจากจะได้รับอาหารแล้วพบว่า การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและการบำรุงสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงสม่ำเสมอ จะเป็นการช่วยเพิ่มปริมาณเลซิตินให้กล้ามเนื้ออีกทางหนึ่ง และสารเลซิตินนี้ก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ทุกชนิดในร่างกาย ทำให้เซลล์และอวัยวะต่างๆ ทำงานได้ตามปกติ

หน้าที่ของเลซิติน
       ปัจจุบันนี้เราทราบกันแล้วว่า เลซิติน เป็นสารที่เป็นส่วนประกอบของเซลล์ในร่างกายของคนเรา ทำให้อวัยวะต่างๆ หลายส่วนในร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ  เช่น ตับ เป็นอวัยวะที่ต้องการเลซิตินเมื่อทำงาน น้ำดีก็ต้องการ ถ้าขาดเลซิตินจะทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี นอกจากนั้น ยังทำให้น้ำและไขมันรวมตัวได้ สามารถผ่านเข้าออกเซลล์ได้ไม่เกาะตามผนังเส้นเลือด เป็นส่วนประกอบของเซลล์หัวใจและเส้นประสาท ช่วยให้ทำงานอย่างปกติ เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ที่ใช้สลายไขมันให้เป็นหยดเล็กๆ ทำให้ไขมันถูกย่อยและดูดซึมได้ดีขึ้น ลดการเกาะของคอเลสเตอรอลและไขมันตามเส้นเลือด ในตับ หัวใจ จึงลดภาวการณ์เกิดไขมันในเส้นเลือดอุดตันและหัวใจขาดเลือด ซึ่งเป็นผลดีสุขภาพของผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงด้วย

แหล่งของเลซิติน
       ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการสกัดเลซิติน เป็นสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ก็เพราะว่าเลซิตินเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ การสกัดเลซิตินนั้นส่วนใหญ่ได้จากธรรมชาติ โดยเฉพาะพืชที่ให้น้ำมัน  เช่น เมล็ดถั่วเหลืองหรือในธัญพืชที่ไม่ได้ขัดสีเอาเปลือกออกจนหมด ในวีทเจิร์ม (Wheat germ) ซึ่งมีปริมาณค่อนข้างสูง ในสัตว์จะพบมากในส่วนของตับ หัวใจ ไข่แดง แต่ที่นิยมมากที่สุดคือ จากถั่วเหลือง เพราะเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่าย กรรมวิธีการผลิตไม่ยุ่งยาก เลซิตินที่ได้มีคุณภาพดีมาก การสกัดเลซิตินนั้นทำให้ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้เลยในทันที แต่ถ้าได้รับจากอาหารต่างๆ นั้น อาหารที่ต้องผ่านกรรมวิธีแปรรูปต่างๆ จนทำให้เลซิตินถูกทำลายจนหมด ร่างกายจึงไม่ได้รับเลซิตินจากอาหารที่กินเข้าไป

เลซิตินต่อระดับคอเลสเตอรอล
       ไขมันชนิดหนึ่งมีอยู่ในร่างกายของเรา นั่นคือ คอเลสเตอรอล ซึ่งสารตัวนี้เราจะได้รับมาจากอาหาร และในร่างกายของเราสามารถสร้างขึ้นมาเองได้ โดยปกติคอเลสเตอรอลจะทำงานร่วมกับเลซิติน ถ้าสารทั้งสองตัวนี้สมดุลกันก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเลซิตินมีน้อยกว่าเมื่อใดจะทำให้เกิดการรวมตัวของไขมันตามส่วนต่างๆ เป็นผลให้เส้นเลือดแคบลงหรือเกิดอุดตันของเส้นเลือด จึงทำให้เส้นโลหิตแข็งตัวและหัวใจวายได้
       เลซิตินจะทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด โดยจะทำให้ไขมันหรือคอเลสเตอรอลแตกตัวเป็นอนุภาคเล็กๆ ซึ่งสามารถลอยตัวอยู่ในกระแสเลือด โดยไม่ตกตะกอนหรือรวมตัวเป็นก้อนเกาะตามผนังเส้นเลือด

เลซิตินกับความอ้วน
       ถึงแม้ว่าเลซิตินจะเป็นสารพวกไขมันแต่ก็เป็นไขมันที่ถูกดูดซึมได้และสลายตัวได้เอง ไม่เปลี่ยนเป็นพลังงาน นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญย่อยและดูดซึมสารพวกไขมันก่อให้เกิดพลังงานในร่างกายได้ ขณะเดียวกันก็เป็นการกำจัดไขมันไม่ให้ไปพอกตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย  เช่น ต้นขา แขน หน้าท้อง เป็นต้น และยังช่วยดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันได้แก่ เอ อี ดี ได้อีกด้วย
       ดังนั้นในปัจจุบันยาหรืออาหารเสริมที่ใช้ลดความอ้วนและลดไขมันต่างๆ โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วย เลซิติน, ไซเดอร์วินิการ์(น้ำส้มสายชูที่ทำจากน้ำผลไม้), เคลป(เกลือทะเล), วิตามินบี6 ซึ่งจากรายงานการใช้อาหารสูตรนี้จากผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักปรากฏว่าได้ผลดี

เลซิตินกับนิ่วในถุงน้ำดี
       กรดน้ำดีที่ร่างกายใช้ย่อยและดูดซึมไขมันในลำไส้เล็ก ประกอบด้วยคอเลสเตอรอลและเลซิตินเป็นส่วนใหญ่ ถ้าทั้ง 2 ตัวมีปริมาณสมดุลกัน ร่างกายก็จะย่อยและใช้ประโยชน์ได้เต็มที่จากไขมัน แต่ถ้ามีเลซิตินน้อยก็จะทำให้คอเลสเตอรอลสูง เนื่องจากน้ำดีไม่สามารถละลายหรือย่อยไขมันได้ ทำให้คอเลสเตอรอลสูง เนื่องจากน้ำดีไม่สามารถละลายหรือย่อยไขมันได้ ทำให้คอเลสเตอรอลรวมตัวกันเป็นก้อน กลายเป็นนิ่วในถุงน้ำดี
       ดังนั้นเลซิตินจังเป็นสารที่ช่วยป้องกันการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี และลดปัญหาท้องเสียและถ่ายอุจจาระที่มีไขมันปนออกมาได้เป็นอย่างดี

ผลของเลซิตินต่อสมอง
       เลซิติน เป็นสารที่มีผลต่อสมองและระบบประสาทของเราเป็นอย่างมาก เมื่อเรารับประทานเลซิตินเข้าไปแล้วร่างกายจะเปลี่ยนเลซิตินเป็นสารที่ชื่อ โคลีน และสารโคลีนก็จะถูกเปลี่ยนเป็นสารชื่อ อะซิติลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งเป็นสารที่ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงเซลล์ประสาทช่วยให้การสื่อสารของประสาททำงานดีขึ้น ช่วยในการบำรุงสมอง ทำให้วงจรความจำและการเรียนรู้ดีขึ้น ไม่หลงลืมอะไรง่ายๆ ถ้าเซลล์ประสาทของเราขาดสารนี้จะทำให้เซลล์ประสาทตายไปเรื่อยๆ มีผลทำให้เป็นคนขี้หลงขี้ลืมและความจำเสื่อมได้
       ในการวิจัยที่ผ่านมาได้มีการทดลองเอาเนื้อเยื่อสมองไปเลี้ยงในจานทดลองปรากฏว่าเนื้อเยื่อสมองสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสารอะซิติลโคลีนดังนั้นจึงได้มีการนำสารนี้ไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคพิการทางสมองและผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมก่อนวัย และนำไปใช้ในการเสริมอาหารในเด็กๆ เพื่อช่วยในการเรียนรู้และเสริมสร้างความจำอีกด้วย

ผลของเลซิตินต่อสุขภาพด้านอื่นๆ และความงาม
       - ช่วยบำรุงตับในการกำจัดสารพิษ กำจัดไขมันส่วนเกินได้ดีขึ้น และยังช่วยไม่ให้ไขมันไปแทรกในเนื้อตับ อันทำให้เกิดไขมันในตับ (fatty liver) ทำให้ตับเสื่อมสภาพการทำงานและยังช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งในตับอีกด้วย
      - ใช้เป็นอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และเป็นสารที่ช่วยป้องกันกลุ่มอาการแทรกซ้อน  เช่น ไขมันไปพอกที่ตับ ภาวะคอเลสเตอรอลและไขมันในเลือดสูงทำให้ตับเสื่อม
       - กรดไขมันไม่อิ่มตัวชื่อ ไลโนเลอิก (linoleic) ในเลซิตินจะช่วยพัฒนาด้านการเจริญเติบโตของเด็กๆ ให้ดียิ่งขึ้น
       - กรดไขมันบางชนิดในเลซิติน ช่วยหล่อเลี้ยงและบำรุงผิวพรรณให้นุ่มนวลสดใส ปราศจากริ้วรอย เหี่ยว-ย่น ช่วยรักษาโรคเรื้อนกวางผิวแตกกระแห่งโรคผื่นแพ้ หน้ามัน และสิวได้อย่างดี

ความจำเป็นที่ต้องรับประทานเลซิติน ?
       โดยปกติในอาหารที่รับประทานกันอยู่ทุกวันนี้เราก็ได้รับสารเลซิตินอยู่บ้างแล้ว ซึ่งอาหารแต่ละชนิดจะมีปริมาณของสารนี้แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของอาหารที่รับประทานเข้าไป อาหารที่มีเลซิตินเป็นส่วนประกอบตัวอย่างเช่น ไข่แดง ตับ ถั่วต่างๆ ธัญพืช วีทเจิร์ม เป็นต้น
       จากการพิสูจน์หาปริมาณเลซิตินในอาหารพบว่า ในไข่แดงมีปริมาณสูงที่สุดประมาณ 10-20% และในอาหารอื่นๆ มีมากน้อยตามลำดับ จากรายงานการวิจัยพบว่าบุคคลที่ต้องการเลซิตินมากเป็นพิเศษได้แก่ วัยเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 10-12 ปี เพราะร่างกายเด็กต้องการเลซิตินไปใช้ในการสร้างเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย ช่วยในการเสริมสร้างความจำและการเรียนรู้ นอกจากนั้นบุคคลที่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวมาก และวัยสูงอายุก็ต้องการมากเช่นกัน เพราะจะช่วยในการป้องกันโรคความจำเสื่อมก่อนวัยและช่วยในการละลายไขมันด้วย
       ดังนั้นจึงมีการรณรงค์ให้หันมากินไข่เพิ่มมากขึ้นเพื่อจะทำให้ได้รับเลซิตินมากด้วยจะเห็นได้ว่าการจะรับประทานอาหารเพื่อให้ได้เลซิตินที่เพียงพอกับความต้องการนั้นเป็นเรื่องยาก นอกจากนั้นแล้วกรรมวิธีในการปรุงอาหารต่างๆ  เช่น ต้ม ทอด ย่าง ก็ทำให้เลซิตินถูกทำลายไปอาจจะเหลือเพียงเล็กน้อย ทำให้ร่างกายขาดเลซิตินและเกิดเป็นโรคดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้นการรับประทานเลซิตินสกัดจึงเป็นทางเลือกที่ดี ทำให้เราได้รับเลซิตินเพียงพอ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ เลซิตินที่สกัดส่วนใหญ่นั้นนิยมสกัดมาจากถั่วเหลือง ซึ่งเป็นพืชที่มีสารอาหารที่มีประโยชน์มาก มีผลข้างเคียงน้อยและที่สำคัญไม่มีคอเลสเตอรอลอยู่เลย จึงไม่มีปัญหาเรื่องคอเลสเตอรอลในเลือด
       อย่างไรก็ดีการรับประทานอาหารตามธรรมชาติให้ครบ 5 หมู่ทุกวันและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสอยู่เสมอ เพียงแค่นี้เราก็มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงได้

2 comments:

  1. Thank you very much for great information!

    ReplyDelete
  2. A writer need to commonly try and maintain its writing quite simple and clean. constantly use data which can be effortlessly desirable by using elegant humans because they may be very close to their assumptions and they welcome such shape of information อาหารเสริม Growth Hormone

    ReplyDelete