โภชนาการรักษาโรค
สังกะสี
ในร่างกายของผู้ใหญ่มีแร่ธาตุสังกะสีอยู่ประมาณ 2-3 กรัม พบอยู่ในเนื้อเยื่อทั่วไป แต่ที่มีสังกะสีในความเข้มข้นสูง ไดแก่
ดวงตา โดยเฉพาะที่ม่านตา และจอรับภาพ (Retina) ต่อมลูกหมากและเส้นผม
ในเลือดมีสังกะสีประมาณ 1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ประมาณร้อยละ 85 พบในเม็ดเลือดแดง
ที่เหลืออยู่ในน้ำ เลือดและเม็ดเลือดขาว
เมตะบอลิซึมของสังกะสี
สังกะสีดูดซึมในลำไส้เล็กบริเวณตอนต้น
(Duodenum)
และตอนกลาง (Jejunum) ได้ประมาณร้อยละ 20-30 น้ำย่อยจากตับอ่อนและน้ำนม โดยเฉพาะน้ำนมแม่จะช่วยให้ธาตุสังกะสีดูดซึมได้ดีขึ้น
สารที่ขัดขวางการดูดซึม ได้แก่ แคลเซียม ทองแดง แคดเมียม ไฟเทต และใยอาหาร
สังกะสีส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมก็จะถูกขจัดออกไปทันที
โดยจะขับถ่ายออกมากับน้ำย่อยจากตับอ่อนและลำไส้เล็กและขับถ่ายออกไปทางอุจจาระ
โดยปกติสังกะสีจะถูกขับถ่ายทางปัสสาวะ วันละ 500 ไมโครกรัม
บทบาทหน้าที่ของสังกะสีในร่างกาย
1.สังกะสีเป็นองค์ประกอบอยู่ในเอนไซม์อย่างน้อย 70 ชนิด ซึ่งมีบทบาทหน้าที่สำคัญ
เช่น
1.1 เป็นเอนไซม์สำคัญในกระบวนการขนส่งคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์และเนื้อเยื่อไปยังปอด
1.2 เป็นเอนไซม์เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาการเปลี่ยนกรดไพรูวิกเป็นกรดแล็กติก
ในวิถีไกลโคลิซิส
1.3 เป็นเอนไซม์ที่ใช้ย่อยโปรตีนในลำไส้เล็ก
2.สังกะสีเป็นโคแฟกเตอร์ในปฏิกิริยาการสังเคราะห์ DNA และ
RNA บทบาทของสังกะสีในข้อนี้มีความสำคัญในเซลล์และเนื้อเยื่อในระบบทางเดินอาหารรวมทั้งปุ่มรับรสที่ลิ้น
ดังนั้นสังกะสีจึงมีส่วนช่วยให้รู้รสอาหาร
3.สังกะสีเกี่ยวข้องกับการโยกย้ายวิตามินเอจากตับออกไปในกระแสเลือด
เพื่อรักษาระดับวิตามินเอในเลือดให้ปกติ
4.สังกะสีช่วยการทำงานของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ คือ Follicle
stimulating hormone และ Luteinizing hormone
5.สังกะสีช่วยให้ระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย ให้ดำเนินหน้าที่ไปตามปกติ
6.สังกะสีเป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดขาว และช่วยระบบต้านทานโรคของร่างกาย
7.สังกะสีเป็นส่วนประกอบของอินซูลิน (Insulin) ถ้าไม่มีสังกะสี
อาจทำให้เป็นโรคเบาหวานได้
8.สังกะสีช่วยในการดูดซึมและการทำงานของวิตามิน โดยเฉพาะ B complex
9.สังกะสีช่วยในการย่อยคาร์โบไฮเดรท (พวกแป้งและน้ำตาล)
และการเผาผลาญฟอสฟอรัส
10.สังกะสีช่วยในการสังเคราะห์กรดนูเลอิค ซึ่งควบคุมการสร้างโปรตีนในเซลล์
11.สังกะสีช่วยในการขจัดกลิ่นตัว
และรักษาแผล โรคเรื้อน สิวได้
ความต้องการ
ปริมาณความต้องการสังกะสีต่อวันของบุคคลแต่ละวัยต่างกัน
ดังนี้
เด็กทารา อายุ 0-5 เดือน วันละ
3 มก.
อายุ
5-12
เดือน วันละ
5 มก.
เด็ก อายุ 1-10 ปี วันละ 10 มก.
เด็กวัยรุ่น อายุ 11-22 ปี วันละ 15 มก.
ผู้ใหญ่ อายุ 23-51 ปี วันละ 15 มก.
หญิงตั้งครรภ์ วันละ 20 มก.
หญิงให้นมบุตร วันละ 25 มก.
แหล่งอาหาร
แหล่งอาหารที่มีสังกะสีมาก
ได้แก่ เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ ไข่ ถั่ว นม เป็นต้น ในข้าวสาลี ข้าวโอ๊ด
ก็มีมากแต่เป็นแหล่งที่ไม่ดี
เนื่องจากการดูดซึมสังกะสีจะถูกจำกัดเพราะเส้นใยในพืชผักเหล่านี้
ปริมาณสังกะสีในอาหารต่างๆ
บางชนิด
………………………………………………………………………………
การขาดสังกะสี
อาการ
1.มีอาการทางผิวหนัง เช่น
ขนตามร่างกายร่วง ผิวหนังเป็นแผลฟกช้ำง่าย มีการอักเสบของผิวหนัง เป็นแผลเรื้อรัง
ผิวแห้งหยาบดำด้าน โดยเฉพาะตามข้อพับทั่วๆ ไป
2.การเจริญเติบโตผิดปกติ ทำให้เตี้ยแคระ (Dwart)
3.การเจริญเติบโตทางเพศช้าและผิดปกติ (Hypogonadism)
4.การปรับสายตาในที่มืดผิดปกติ
5.เมื่อเกิดบาดแผลจะหายยาก
6.ประสาทรับรสทำงานน้อยลง
7.ในสตรีที่กำลังตั้งครรภ์และสตรีระหว่างการให้นมบุตร
ถ้าขาดธาตุสังกะสีอาจมีผลต่อทารกในครรภ์เกิดความผิดปกติขึ้นได้
โดยจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
ทำให้การเติบโตเป็นไปอย่างเชื่องช้าและทารกอาจมีรูปร่างแคระแกรน
การได้รับสังกะสีมากเกินไป
1.ถ้าได้รับสังกะสี ประมาณ 2 กรัมต่อวัน หรือมากกว่าจะทำให้เกิดพิษ มีอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร
อาเจียน
2.ถ้าได้รับสังกะสี
วันละ 18.5 มิลลิกรัม
หรือ 25 มิลลิกรัม
ทำให้ภาวะโภชนาการของธาตุทองแดงต่ำลง เป็นผลทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้
No comments:
Post a Comment