Thursday, 3 May 2012

นมผึ้ง


โภชนาการรักษาโรค
นมผึ้ง (Royal Jelly)
 
 
นมผึ้งคืออะไร
       นมผึ้ง (Royal Jelly) คือ อาหารของผึ้งตัวอ่อนอายุไม่เกิน 3 วัน แต่ตัวอ่อนผึ้งที่จะเจริญเติบโตไปเป็นผึ้งนางพญาจะได้กินรอยัลเยลลี่มากพิเศษและได้กินตลอดระยะเวลาที่เป็นตัวหนอนและตัวเต็มวัย จึงทำให้ผึ้งนางพญามีความแข็งแรงและอายุยืนยาวกว่าผึ้งธรรมดา 10-20 เท่า นมผึ้งผลิตขึ้นโดยผึ้งงานที่มีอายุประมาณ 5-15 วัน จากต่อมไฮโปฟาริงจ์ (Hypopharyngeal Gland) ซึ่งติดต่อกับต่อมน้ำลายบริเวณส่วนหัวของผึ้งงาน


ลักษณะของนมผึ้ง
       นมผึ้งมีลักษณะเป็นครีมขาวขุ่นมีกลิ่นฉุนรสค่อนข้างเปรี้ยวและเผ็ดร้อนนิดๆ มีคุณค่าทางอาหารสูงจึงนิยมใช้เป็นอาหารเสริม

องค์ประกอบทั่วไปของนมผึ้ง
องค์ประกอบของนมผึ้งต่อ 100 กรัม
 
วิตามินที่พบในนมผึ้ง

เปรียบเทียบสารอาหารในนมผึ้งและนมวัว
 จากการเปรียบเทียบสารอาหารในนมผึ้งและนมวัว จะเห็นว่านมผึ้งประกอบด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่านมวัว
                           
ประโยชน์ของนมผึ้ง
       ประโยชน์ของนมผึ้งซึ่งได้จากสารที่เป็นองค์ประกอบในนมผึ้งได้แก่
       1.สาร 10-ไฮดรอกซี-2-เดคซีโนอิคแอซิด มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียบางชนิด ต้านทานกัมมันตรังสีและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
       2.อะซิทิลโคลีน (Acetylcholine) มีฤทธิ์ในการขยายเส้นโลหิตจึงช่วยลดความดันโลหิตได้
       3.สารที่มีฤทธิ์คล้ายอินซูลิน (Insulin likes substance) ช่วยลดระดับน้ำตาลในโลหิต เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
       4.ฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศชาย และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
       5.กรดแพนโทเทนิก (Pantothenic acid) ช่วยลดความเครียดและบำรุงผิวพรรณ
       6.วิตามินบี1 (Thiamine) ช่วยให้หัวใจแข็งแรง สร้างเนื้อเยื่อ ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
       7.วิตามินบี2 (Riboflavin) ช่วยให้มีสายตาดี สร้างเนื้อเยื่อผิว สร้างฮอร์โมนให้กับร่างกาย และเปลี่ยนโปรตีนให้เป็นพลังงาน
       8.วิตามินบี6 (Pyridoxine) ช่วยสร้างเม็ดโลหิตแดงและเม็ดโลหิตขาว เสริมสร้างความสมบูรณ์ในการสืบพันธุ์และยังช่วยสร้างกระดูกและฟัน
       9.วิตามินบี3 (Niacin) ช่วยในเรื่องความจำเสื่อม ย่อยอาหาร ป้องกันโรคผิวหนัง เบื่ออาหาร และหน้ามืด
       10.ไบโอติน (Biotin) ช่วยเสริมสร้างต่อมเหงื่อ เยื่อประสาท และช่วยลดโรคไขข้อในผู้สูงอายุ
       11.อินโนซิทอล (Inositol) ช่วยป้องกันการสร้างไขมันในตับ ป้องกันรักษาไตและตับ
       12.กรดโฟลิค (Folic acid) ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง และสร้างเม็ดเลือด

การรับประทานนมผึ้ง
       สามารถรับประทานสดได้ หรือนำไปผสมน้ำผึ้งจะเป็นการเพิ่มน้ำตาลและสารอาหารอื่นๆ จากน้ำผึ้ง ทำให้มีรสหวานชวนรับประทานมากขึ้น หรืออาจผสมกับนมอุ่นหรือน้ำนมถั่วเหลือง รับประทานก่อนอาหารเช้าและก่อนนอนกลางคืนได้ สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ยาหรืออาหารบางประเภทควรระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับประทานนมผึ้ง อาการแพ้นมผึ้งมักมีอาการหืด หอบ หรือเป็นผื่นแดง ถ้าเกิดอาการเหล่านี้เพียงแต่หยุดกินอาการก็จะหายไปเอง

การเก็บรักษา
       ควรเก็บไว้ในที่ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 c มิฉะนั้นจะเสื่อมคุณภาพลงอย่างรวดเร็ว

สรรพคุณและการใช้ทางคลินิกของนมผึ้ง
1.เพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
       ได้มีการทดลองโดยแบ่งหนูตะเภาออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้นมผึ้ง กลุ่มที่สองให้อาหารธรรมดา ทดลองให้หนูทั้งสองกลุ่มว่ายน้ำในอ่าง พบว่าหนูกลุ่มที่ให้นมผึ้งสามารถว่ายน้ำได้นานกว่าหนูกลุ่มที่ให้อาหารธรรมดา และได้มีการแบ่งหนูเป็น 2 กลุ่มเหมือนข้างต้นอีก ทดลองให้หนูทั้งสองกลุ่มอยู่ในสภาวะขาดออกซิเจน และให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นพบว่า หนูที่ให้นมผึ้งสามารถทนอยู่ในสภาวะขาดออกซิเจนได้นานกว่าหนูที่ให้อาหารธรรมดา หลังจากมีการผ่าศพหนูทั้งสองกลุ่มพบว่านมผึ้งสามารถทำให้เม็ดเลือดขาวชนิดแมกโครเฟก (Macrophage) กลืนและทำลายแบคทีเรียหรือสารแปลกปลอมอื่นๆ ได้เพิ่มขึ้นประมาณเท่าตัว แสดงให้เห็นว่านมผึ้งสามารถเพิ่มภูมิต้านทานให้แก่ร่างกายได้และยังพบอีกว่านมผึ้งสามารถทำให้หนูมีความคงทนต่อรังสีได้สูงกว่าปกติ
2.กระตุ้นเนื้อเยื่อให้เจริญเติบโต
       ได้มีผู้ทดลองให้นมผึ้งแก่หนูและไก่พบว่านมผึ้งส่งผลให้มีการเพิ่มน้ำหนักร้อยละ 30 และยังพบอีกว่านมผึ้งสามารถทำให้เซลล์ที่หมดสภาพถูกแทนที่โดยเซลล์ใหม่ เซลล์เม็ดเลือดแดงมีปริมาณเพิ่มขึ้น
           การทดลองตัดหรือทำให้เส้นประสาทขา (Sciatic Nerve) บอบช้ำ ผลการทดลองพบว่า นมผึ้งสามารถทำให้เส้นประสาทนี้งอกและฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
           มีการทดลองตัดไตข้างหนึ่งของหนูตะเภา ที่เหลืออีกข้างหนึ่งตัดเฉพาะบางส่วน การทดลองพบว่า หนูที่กินนมผึ้งจะมีเนื้อเยื่องอกใหม่บริเวณไตที่ถูกตัด
       นอกจากจะมีการทดลองกับสัตว์แล้ว ยังมีการทดลองให้นมผึ้งแก่เห็ดหอม พบว่าเห็ดหอมที่มีการรดด้วยนมผึ้งทำให้น้ำหนักของเห็ดหอมเพิ่มมากกว่าเห็ดที่รดด้วยน้ำธรรมดา จากการทดลองนี้แสดงว่านมผึ้งสามารถเร่งการเจริญเติบโตได้ทั้งพืชและสัตว์
3.ยืดอายุให้ยืนยาว
       มีผู้เชื่อว่าในนมผึ้งมีโกลบูลินอยู่ 2 ชนิด โกลบูลินทั้งสองชนิดนี้สามารถชะลอความชราและสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย แต่มีนักวิชาการบางท่านเชื่อว่า เหตุที่นมผึ้งสามารถทำให้อายุยืนได้ เพราะกรดแพนโทเทนิก (Pantothenic acid) (ซึ่งเป็นวิตามินชนิดหนึ่งของกลุ่มวิตามินบีรวม) และวิตามินบี6 เคยมีการทดลองให้นมผึ้งกับหนอนในผลไม้ พบว่าหนอนที่เลี้ยงด้วยนมผึ้งมีอายุยืนกว่าหนอนที่เลี้ยงด้วยอาหารธรรมดา
4.ผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ
       นมผึ้งมีผลต่อการปรับสมดุลของร่างกายภายในทำให้ร่างกายฟื้นคืนสมรรถนะและสามารถทำงานได้อย่างปกติ
          นมผึ้งกับน้ำตาลในเลือด จากการทดลองให้นมผึ้งแก่สัตว์ที่มีร่างกายปกติทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงและยังพบอีกว่านมผึ้งสามารถลดน้ำตาลในสัตว์ที่เป็นเบาหวานในปัจจุบันพบว่าสาเหตุที่นมผึ้งสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้เพราะมีกลุ่มเพ็ปไทด์ (Peptide) ที่ออกฤทธิ์คล้ายกับอินซูลินอยู่
          นมผึ้งกับไอโอดีนในร่างกาย ผลจากการให้นมผึ้งแก่หนูถีบจักร ทำให้ต่อมธัยรอยด์มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น และนมผึ้งยังมีฤทธิ์กระตุ้นให้ต่อมธัยรอยด์สามารถรับไอโอดีนได้มากขึ้นหลังจากใช้เมทิลไทโอยูราซิล (Methylthio uracil) ยับยั้งต่อมธัยรอยด์
       นมผึ้งกับคอเลสเตอรอล ได้มีการทดลองให้กระต่ายกินอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งให้ทั้งนมผึ้งและอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงพบว่ากลุ่มหลังจะมีคอเลสเตอรอลในเลือดต่ำกว่ากลุ่มแรก หลังการผ่าตัดพบว่านมผึ้งสามารถลดการแข็งตัวของหลอดเลือดจากไขมันและคอเลสเตอรอลได้ และผลจากการถ่ายภาพรังสีหลอดเลือดหัวใจปรากฏว่า กลุ่มที่ให้นมผึ้ง หลอดเลือด หัวใจจะตีบน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ให้นมผึ้ง
5.ฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรีย
       นปี พ.ศ. 2501 ที่ประชุมนักเลี้ยงผึ้งระหว่างประเทศได้รายงายว่านมผึ้งเข้มข้น 7.5 มิลลิกรัม/ลิตร สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของโคลิบาซิลลัส (Colibacillus) สแตฟฟิโลค็อกคัส (Staphylococcus) ได้เคยมีผู้ทำการทดลองเปรียบเทียบนมผึ้งกับเพนิซิลลินในหนูตะเภาที่ติดเชื้อโคลิบาซิลลัสและสแตฟฟิโลค็อกคัส โดยใช้สารละลายนมผึ้ง 10% เปรียบเทียบกับเพนิซิลลิน 2,000 หน่วย/มิลลิลิตร หรือสารละลายแกรมมิไซดีน (Gramicidin) ทาบริเวณแผลพบว่าแผลที่ทาด้วยสารละลายนมผึ้งหายได้เร็วพอๆ กับการใช้ยาเพนิซิลลิน
6.ความเป็นพิษของนมผึ้ง
       นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียทำการทดลองพบว่า ถ้าใช้นมผึ้ง 1 mg/kg สามารถกระตุ้นประสาทและทำให้น้ำหนักของร่างกายเพิ่มขึ้น ถ้าใช้ 100 mg/kg จะมีฤทธิ์ทำให้การสันดาป (Metabolism) ของร่างกายปั่นป่วน (ใช้กับผู้ที่มีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม) ถ้าใช้จนถึง 6 g/kg จึงจะเกิดผลข้างเคียง
          นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นพบว่าการฉีดนมผึ้งให้หนูตะเภาในปริมาณ 300, 1,000, 3,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เป็นเวลาติดต่อกัน 5 สัปดาห์ ไม่ปรากฏผลข้างเคียงใดๆ มีบางคนเพิ่มการให้นมผึ้งถึง 16 g/kg ก็ไม่ปรากฏว่าหนูตาย

No comments:

Post a Comment