โภชนาการรักษาโรค
น้ำฝรั่ง
ฝรั่ง (Psidium guajava
Linn.)
ฝรั่งเป็นผลไม้พื้นเมืองของอเมริกากลาง
แต่ได้นำมาปลูกในประเทศที่มีอากาศร้อนทั่วๆ ไป โดยเฉพาะในประเทศไทย
นำเข้ามาปลูกเป็นไม้ผลและให้ร่มเงา ฝรั่งจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม
ปลูกได้ทั่วไปทุกแห่งของประเทศ นิยมรับประทานกันโดยทั่วไป
เนื่องจากราคาค่อนข้างถูก ในปัจจุบันผลของฝรั่งนอกจากจะใช้รับประทานสดแล้ว
ฝรั่งยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชนิดต่างๆ ได้อีก เช่น เครื่องดื่มน้ำฝรั่งหวานเข้มข้น
เครื่องดื่มน้ำฝรั่งสดปรุงรสบรรจุขวด และเครื่องดื่มสำเร็จน้ำฝรั่งผง
ซึ่งเมื่อละลายน้ำคืนรูปเป็นน้ำฝรั่งจะยังคงมีกลิ่นของฝรั่งอยู่และมีสีคล้ายฝรั่งสด
คุณค่าทางอาหารของฝรั่ง
ฝรั่งเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารที่น่าจะกล่าวถึงดังนี้
คือ ในฝรั่ง 100 กรัม จะมีไขมันเพียงแค่ 0.1 กรัม มีวิตามินซีสูงมากถึง 160 มิลลิกรัม เมื่อเทียบกับผลไม้ชนิดอื่น
เช่น ส้มเขียวหวาน จะให้วิตามินซีเพียงแค่ 18 มิลลิกรัมเท่านั้น ถ้าคิดเป็นจำนวนเท่าจะให้วิตามินซีน้อยกว่าฝรั่งมากถึง 9 เท่า วิตามินซีจะช่วยป้องกันและบรรเทาอาการโรคเลือดออกตามไรฟันได้ดีแล้ว
ยังช่วยให้สารอาหารอื่นๆ ทำงานได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนั้นในผลฝรั่งยังมีวิตามินเอ บี1 บี2 บี6 แคลเซียม และไฟเบอร์ ซึ่งแสดงรายละเอียดไว้ในตารางข้อมูลที่ 1 และ 2
ตารางที่
1
แสดงคุณค่าทางอาหารของฝรั่ง
จากส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม
…………………………………………………………
(กองโภชนาการ
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 2530)
ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบปริมาณวิตามินซีในฝรั่งกับผลไม้บางชนิด
………………………………………………………
(กองโภชนาการ
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 2530)
ประโยชน์ของวิตามินซีในน้ำฝรั่งต่อสุขภาพ
จากการศึกษาคุณค่าทางด้านอาหารพบว่า
น้ำฝรั่งเป็นเครื่องดื่มที่ให้วิตามินซีสูง
ซึ่งวิตามินซีจะให้ประโยชน์หลายอย่างต่อร่างกายดังนี้ คือ
1.ช่วยให้กระบวนการสร้างกระดูกและฟันเป็นไปตามปกติ
2.ช่วยในการดูดซึมและเมทาบอลิซึมของธาตุเหล็กในร่างกาย
3.ช่วยให้ร่างกายต้านทานโรคติดเชื้อได้ดี
โดยเฉพาะโรคหวัดและโรคติดเชื้ออื่นๆ
4.ช่วยให้บาดแผลหายเร็วและการประสานของกระดูกที่หักให้ดีขึ้น
5.ช่วยให้หลอดเลือดและเส้นเลือดฝอยแข็งแรงไม่แตกทำลายง่ายและป้องกันเลือดออกจากหลอดเลือดและเส้นเลือดฝอยได้
6.ช่วยป้องกันมะเร็งที่มีสาเหตุมาจากสารก่อมะเร็ง ไนโตรซามีน (Nitrosamine)
7.ช่วยลดภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดตีบตัน
(Cardiovascular disease)
เก๋
ReplyDelete